วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556







วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556



      สัตว์พื้นบ้าน

กระต่ายยุโรป หรือ กระต่ายบ้าน เป็นกระต่ายพื้นเมืองของแถบยุโรป (สเปน และ โปรตุเกส) และตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกา (โมรอคโค และ แอลจีเรีย) เป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Oryctolagus แบ่งออกได้เป็นชนิดย่อยต่าง ๆ ได้ 6 ชนิด 2]

                                             

กระต่ายยุโรปก็มีจุดเริ่มต้นเช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ คือเริ่มจากมนุษย์จับกระต่ายยุโรปมาเลี้ยง แต่ระยะเวลาในการเริ่มต้นนำกระต่ายยุโรปมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง เมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์เลี้ยงเศรษฐกิจชนิดอื่น ๆ แล้วนับว่ามีอายุสั้นกว่ามาก ประวัติการเริ่มต้นนำกระต่ายยุโรปมาเลี้ยง พึ่งเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 2,000 ปีมานี้ โดยเริ่มในยุคต้นของประมาณ 100 ปีก่อนคริสต์ศักราช (116-27 ก่อนคริสต์ศักราช) กระต่ายยุโรป ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบรอยต่อระหว่างทวีปแอฟริกาหนือและยุโรปตอนใต้ ได้ถูกจับมาเลี้ยงแบบจำกัดเขตตามสวนหรืออุทยานที่มีรั้วหรือกำแพงล้อมรอบแบบกึ่งเลี้ยงกึ่งกระต่ายป่า เพื่อเป็นเกมการล่าสัตว์ของกษัตริย์หรือขุนนาง และเพื่อใช้เป็นอาหารของพวกพระหรือนักบวชชาวโรมันในระหว่างถือบวชก่อน หลังจากนั้นการเลี้ยงกระต่ายก็ค่อย ๆ แพร่หลายไปเรื่อยและมีการพัฒนาขึ้น ทั้งวิธีการเลี้ยงและสายพันธุ์ จากจุดเริ่มต้นของการเลี้ยงในยุโรปตอนใต้ (แถบสเปนและอิตาลีในปัจจุบัน) กระต่ายยุโรปก็ถูกนำไปเลี้ยงแพร่หลายทั่วยุโรป รวมทั้งข้ามไปถึงเกาะอังกฤษ และในยุคกลาง (ราวกลางศตวรรษที่ 17) พวกนักเดินเรือก็นำกระต่ายติดเรือไปด้วย เพื่อใช้เป็นอาหารในเรือและนำไปปล่อยตามเกาะหรือแผ่นดินใหม่ที่ค้นพบ เพื่อใช้เป็นแหล่งอาหาร จึงทำให้กระต่ายแพร่ขยายพันธุ์ไปอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นสัตว์พื้นบ้านของแต่ละท้องถิ่น ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ ในช่วงประมาณปี ค.ศ. 1859 กระต่ายเพียงไม่กี่คู่ได้ถูกนำไปปล่อยตามชายฝั่งของประเทศออสเตรเลีย และในระยะเวลาอีกประมาณ 30 ปี ต่อมากระต่ายเหล่านั้นก็แพร่ขยายพันธุ์ เพิ่มจำนวนมากมายเป็นหลายสิบล้านตัว เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเหมาะสม มีอาหารเหลือเฟือ และไม่มีศัตรูตามธรรมชาติคอยลดจำนวนประชากร จนกระต่ายกลายเป็นศัตรูสำคัญของการปลูกพืช ที่รัฐบาลออสเตรเลียปัจจุบันต้องค้นคิดหาวิธีการต่าง ๆ มาลดจำนวนกระต่ายในประเทศลง หรืออย่างประเทศสหรัฐอเมริกา เข้าใจกันว่ากระต่ายถูกนำติดตัวไปกับกลุ่มผู้อพยพจากยุโรปสมัยแรกเพื่อใช้เนื้อเป็นอาหาร และแม้จะมีรายงานว่ากระต่ายที่นำติดตัวไปจากยุโรป จะแพร่พันธุ์ในสภาพป่าเขาธรรมชาติของทวีปอเมริกาไม่ดีนัก แต่จำนวนกระต่ายในอเมริกาก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังนั้น ในแง่ของการเลี้ยงกระต่าย จึงถือว่ากระต่ายยุโรป เป็นต้นสายพันธุ์ของกระต่ายที่พัฒนามาเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามต่าง ๆ หลากหลายสายพันธุ์เช่นในปัจจุบัน







  •    ตะขาบ (Centipede) จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โธรพอด
  •                         
  • ตะขาบ จัดอยู่ใน Class Chilopoda เป็นสัตว์ขาข้อที่พบได้ในเขตร้อนชื้น อาศัยอยู่บนบก ตะขาบมีขนาดความยาวของลำตัวตั้งแต่ 3 - 8 ซม. ขนาดใหญ่ที่สุดคือชนิด Scolopendra heros มีความยาว 8 - 10 " ลำตัวแบนราบ มีปล้อง 15 - 100 ปล้อง แต่ละปล้องมีขา 1 คู่ ส่วนหัวแยกจากลำตัวชัดเจน มีหนวด 1 คู่ โดยมีเขี้ยวพิษ 1 คู่ ซึ่งดัดแปลงมาจากปล้องแรกของลำตัว เขี้ยวพิษเชื่อมต่อกับต่อมพิษ เมื่อกัดเหยื่อจะปล่อยพิษออกมา ทำให้เหยื่อเจ็บปวด และเป็นอัมพาต ตะขาบวางไข่ในที่ชื้นหรือต้นพืชหญ้า ใช้เวลาในการเจริญเติบโตนาน ลอกคราบ 10 ครั้ง ตัวเต็มวัยมีอายุ 3 - 5 ปี ในเวลากลางวันจะซ่อนอยู่ในที่เย็นๆ ใต้ก้อนหิน ออกหาเหยื่อในเวลากลางคืน กินแมลงเป็นอาหาร เมื่อถูกตะขาบกัดจะพบรอยเขี้ยวสองรอย ลักษณะเป็นจุดเลือดออกตรงบริเวณ ที่ถูกกัด พิษของตะขาบทำให้มีการอักเสบ ปวดบวมแดงร้อน ชา เกิดอัมพาต ตรงบริเวณที่ถูกกัด ในบางรายอาจมีอาการแพ้ หรือกระวนกระวาย อาเจียน หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ มึนงง ปวดศีรษะ อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตรงบริเวณที่ถูกกัด อาจเป็นแผลไหม้อยู่ 2-3 วัน
    ตะขาบ (Centipede) จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โธรพอด เป็นสัตว์ขาข้อที่พบได้ในเขตร้อนชื้น อาศัยอยู่บนบก มีหลายขนาด ส่วนใหญ่ความยาวของลำตัวตั้งแต่ 3-8 เซนติเมตร (ขนาดใหญ่ที่สุดคือชนิด Scolopendra heros มีความยาว 8-10 นิ้ว) ลำตัวแบนราบ มีปล้อง 15-100 ปล้อง แต่ละปล้องมีขา 1 คู่ ส่วนหัวแยกจากลำตัวชัดเจน มีหนวด 1 คู่ วางไข่ในที่ชื้นหรือต้นพืชหญ้า ใช้เวลาในการเจริญเติบโตนาน โดยลอกคราบ 10 ครั้ง ตัวเต็มวัยมีอายุ 3-5 ปี ในเวลากลางวันจะซ่อนอยู่ในที่เย็นๆ เช่น ใต้ก้อนหิน ออกหาเหยื่อในเวลากลางคืน กินแมลงเป็นอาหาร






    เสือ  เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ฟิลิดีซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมวโดยชนิดที่เรียกว่าเสือมักมีขนาดลำตัวค่อนข้างใหญ่กว่าและอาศัยอยู่ภายในป่า ขนาดของลำตัวประมาณ 168 - 227เซนติเมตรและหนักประมาณ 180 - 245 กิโลกรัมรูม่านตากลม เป็นสัตว์กินเนื้อกลุ่มหนึ่ง มีลักษณะและรูปร่างรวมทั้งพฤติกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ แตกต่างจากสัตว์ในกลุ่มอื่น หากินเวลากลางคืน มีถิ่นกำเนิดในป่า เสือส่วนใหญ่ยังคงมีความสามารถในการปีนป่ายต้นไม้ ซึ่งยกเว้นเสือชีต้า เสือทุกชนิดมีกรามที่สั้นและแข็งแรง มีเขี้ยว 2 คู่สำหรับกัดเหยื่อ ทั่วทั้งโลกมีสัตว์ที่อยู่ในวงศ์เสือและแมวประมาณ 37 ชนิด ซึ่งรวมทั้งแมวบ้านด้วย
    เสือจัดเป็นสัตว์นักล่าที่มีความสง่างามในตัวเอง โดยเฉพาะเสือขนาดใหญ่ที่แลดูน่าเกรงขราม ไม่ว่าจะเป็นเสือโคร่งหรือเสือดาว ผู้ที่พบเห็นเสือในครั้งแรกย่อมเกิดความประทับใจในความสง่างาม แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดความหวาดหวั่นเกรงขามในพละกำลังและอำนาจภายในตัวของพวกมัน เสือจึงได้รับการยกย่องให้เป็นราชาแห่งสัตว์ปา และเป็นจ้าวแห่งนักล่าอย่างแท้จริง 
    ปัจจุบันจำนวนของเสือในประเทศไทยลดจำนวนลงเป็นอย่างมากในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี เสือกลับถูกล่า ป่าภายในประเทศถูกทำลายเป็นอย่างมาก สภาพธรรมชาติในพื้นที่ต่าง ๆ ถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของมนุษย์เอง ทุกวันนี้ปริมาณของเสือที่จัดอยู่ในลำดับสุดท้ายของห่วงโซ่อาหารถือเป็นสิ่งจำเป็น เพราะการสูญสิ้นหรือลดจำนวนลงอย่างมากของเสือซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อ จะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและระบบนิเวศทั้งหมด การลดจำนวนอย่างรวดเร็วของเสือเพียงหนึ่งหรือสองชนิดในประเทศไทย ทำให้ปริมาณของสัตว์กินพืชเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้ธรรมชาติเสียความสมดุลในที่สุด




    แมว หรือ แมวบ้าน( เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อยู่ในตระกูลFelidae ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับสิงโตและเสือดาว ต้นตระกูลแมวมาจากเสือไซบีเรียน (Felis tigris altaica) ซึ่งมีช่วงลำตัวตั้งแต่จมูกถึงปลายหางยาวประมาณ 4 เมตร แมวที่เลี้ยงตามบ้าน จะมีรูปร่างขนาดเล็ก ขนาดลำตัวยาว ช่วงขาสั้นและจัดอยู่ในกลุ่มของประเภทสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร มีเขี้ยวและเล็บแหลมคมสามารถหดซ่อนเล็บได้เช่นเดียวกับเสือ สืบสายเลือดมาจากแมวป่าที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งลักษณะบางอย่างของแมวยังคงพบเห็นได้ในแมวบ้านปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นแมวพันธุ์แท้หรือแมวพันทาง
    แมวเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เมื่อประมาณ 9,500 ปีก่อน  ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของแมวคือการทำมัมมี่แมวที่ค้นพบในสมัยอียิปต์โบราณ หรือในพิพิธภัณฑ์อังกฤษในกรุงลอนดอน มีการแสดงสมบัติที่นำออกมาจากปิรามิดโบราณแห่งอียิปต์ ซึ่งรวมถึงมัมมี่แมวหลายตัว ซึ่งเมื่อนำเอาผ้าพันมัมมี่ออกก็พบว่า แมวในสมัยโบราณทุกตัวมีลักษณะใกล้เคียงกัน คือเป็นแมวที่มีรูปร่างเล็ก ขนสั้นมีแต้มสีน้ำตาล มีความคล้ายคลึงกับพันธุ์ในปัจจุบัน ที่เรียกว่าแมวอะบิสสิเนียน
         
    หมา หรือภาษาทางการว่า สุนัข เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Canidae ออกลูกเป็นตัว ลำตัวมีขนปกคลุม มีเขี้ยว 2 คู่ เท้าหน้ามี 5 นิ้ว เท้าหลังมี 4 นิ้ว ซ่อนเล็บไม่ได้ อวัยวะเพศของสุนัขตัวผู้มีกระดูกอยู่ภายใน 1 ชิ้น สุนัขที่ยังคงเป็นสัตว์ป่า เช่น หมาใน (Cuon alpinus) สุนัขที่เลี้ยงเป็นสัตว์บ้าน คือ ชนิด Canis lupus familiaris สุนัขเป็นสัตว์ที่มีหลายพันธุ์ เช่น ลาบราดอร์, โกลเด้น, ชิวาวา และอีกมากมาย มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ดุและไม่ดุ พันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น โกลเด้น ลาบราดอร์ ที่มีขนาดเล็ก เช่น ชิวาวา ชิสุ ส่วนที่ดุ ได้แก่ ร็อดไวเลอร์ อัลเซเชียน สุนัขแต่ละพันธุ์จะมีนิสัยแตกต่างกัน
    สุนัขพัฒนามาจากสัตว์กินเนื้อและล่าเหยื่อ ดังนั้นวิวัฒนาการของฟันสำหรับเคี้ยวเนื้อและกระดูกจึงยังคงมีอยู่ รวมทั้งการมีประสาทดมกลิ่นและตามล่าเหยื่อที่ดีมาก นอกจากนี้สุนัขยังมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงทำให้วิ่งได้เร็วและเร่งความเร็วได้เท่าที่ต้องการ ลักษณะการเดินของสุนัขจะทิ้งน้ำหนักตัวบนนิ้วเท้า ซึ่งส่งผลให้สุนัขเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วกว่าสัตว์ชนิดอื่น นอกจากนี้สุนัขยังมีสัญชาตญาณในการทำงานเป็นกลุ่ม ดังนั้นสุนัขจึงสามารถล่าสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    สุนัขมีต้นกำเนิดมาจากสุนัขป่า มนุษย์แถบขั้วโลกเหนือนำมันมาเลี้ยงเมื่อประมาณ 12,000 ปีที่แล้ว เชื่อกันว่า สุนัขป่าตัวแรกนั้น เกิดขึ้นเมื่อ 100 ล้านปีก่อน การอพยพข้ามถิ่นและทวีปต่าง ๆ ทำให้สุนัขมีหลายสายพันธุ์ ชาวจีนมีความเชื่อว่าสุนัขที่ชื่อ Fu มีความซื่อสัตย์ และนำความเจริญมาให้ เป็นสุนัขคล้ายพันธุ์ปักกิ่ง "อนูบิส" ซึ่งเป็นชื่อของเทพเจ้าอียิปต์ที่ตัวเป็นคน หัวเป็นสุนัข และเชื่อว่าสามารถส่งวิญญาณมนุษย์ได้[2][3]
    สุนัขพันธุ์ที่เรียกได้ว่าเป็นสุนัขพันธุ์ต้นตระกูลคือพันธุ์สุนัขทองที่มีอยู่อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ต่อมามีสุนัขป่าอีกพันธุ์หนึ่งที่มนุษย์นำมาเลี้ยงมีชื่อภาษาละตินว่า Conis Lupees ซึ่งแปลว่าสุนัขป่า สุนัขป่าอร่อยชนิดนี้จะเชื่องกว่าสุนัขธรรมดา มีขนยาว หางเป็นแผง หูตั้ง กระดูกแก้มโหนก และหางของมันจะเอนขึ้นข้างบน มีนิสัยรักอิสระกว่าสุนัขทอง สุนัขป่านี้เมื่อมาอยู่กับมนุษย์ก็ผสมพันธุ์กับสุนัขทอง ออกลูกหลานสืบมาเป็นสุนัขพันธุ์ต่าง ๆ มากมาย พันธุ์สุนัขที่เห็นทุกวันนี้ได้รับเชื้อสายมาจากสุนัขพันธุ์ทองเกือบทั้งหมด
    การค้นคว้าวิจัยและศึกษาเรื่องราวของสุนัข ได้มีขึ้นในประเทศอังกฤษ ในแถบยุโรปและอเมริกา แล้วจึงแพร่หลายไปในส่วนต่าง ๆ ของโลก ในสหรัฐอเมริกาได้มีการจัดตั้งเป็นสมาคมผู้เลี้ยงสุนัขขึ้นในปี ค.ศ. 1878 (พ.ศ. 2421) สุนัขพันธุ์แท้ชนิดแรกที่ได้จดทะเบียนในสหรัฐอเมริกาคือ สุนัขพันธุ์อิงลิชเซทเตอร์ ในประเทศอังกฤษได้มีการรวบรวมกันตั้งสมาคมผู้เลี้ยงสุนัขขึ้นเช่นกันในปี ค.ศ. 1859 (พ.ศ. 2402) ในครั้งแรกสมาคมนี้ได้รับรองให้จดทะเบียนสุนัขพันธุ์แท้ได้ 40 สายพันธุ์ และได้จัดวิธีการรับรองสุนัขพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อความเหมาะสมถึง 2 ครั้ง ในปี ค.ศ. 1881 (พ.ศ. 2424) สมาคมนี้ได้ให้การรับรองพันธุ์แท้ต่าง ๆ รวมเป็นจำนวน 46 พันธุ์ การแก้ไขเพิ่มเติมการรับรองเป็นสุนัขพันธุ์แท้เป็นครั้งสุดท้าย เมื่อปี ค.ศ. 1974 (พ.ศ. 2417) ได้มีสุนัขที่ให้การรับรองทั้งหมด 100 สายพันธุ์
    สำหรับในประเทศไทยนั้น ก็มีผู้สนใจการเลี้ยงสุนัขรวบรวมกันจัดตั้งสมาคมขึ้นเช่นกัน โดยปรารถนาจะส่งเสริมบำรุงและอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้เลี้ยงสุนัขเหมือนกับต่างประเทศ โดยใช้ชื่อว่า สมาคมผู้นิยมสุนัขแห่งประเทศไทย ได้ทำการจดทะเบียนตั้งสมาคมเมื่อปี ค.ศ. 1955 (พ.ศ. 2498) ถือเป็นการวางรากฐานในการเลี้ยงสุนัขขึ้นในประเทศไทยเป็นแห่งแรก และตั้งใจที่จะให้เป็นประโยชน์แก่ผู้เลี้ยงสุนัขในประเทศไทยได้เช่นเดียวกับต่างประเทศ
        
    สุกรหรือหมู (ชื่อวิทยาศาสตร์Sus scrofa domesticus) เป็นสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่ ซึ่งมีบรรพบุรุษ คือ หมูป่า (Sus scrofa) สามารถจำแนกเป็นสปีชีส์ย่อยของหมูป่าหรือเป็นอีกสปีชีส์หนึ่งแยกต่างหาก หัวและความยาวลำตัวอยู่ระหว่าง 0.9 ถึง 1.8 เมตร ตัวโตเต็มวัยหนักระหว่าง 50 ถึง 350 กิโลกรัม สุกรแม้จะเป็นสัตว์กีบคู่ซึ่งมักกินพืชเป็นอาหาร แต่กินได้ทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารเหมือนกับบรรพบุรุษหมูป่า สุกรมีวิวัฒนาการกระเพาะอาหารใหญ่ขึ้นและลำไส้ยาวขึ้นเพราะพืชย่อยได้ยากกว่าเนื้อ

    ยีราฟ (อังกฤษGiraffeชื่อวิทยาศาสตร์Giraffa camelopardalis) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Giraffidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง มีลักษณะเด่น คือ เป็นสัตว์ที่ตัวสูง ขายาว ลำคอยาว มีเขา 1 คู่ ตัวมีสีเหลืองและสีน้ำตาลเข้มเป็นลาย มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา ตัวผู้มีความสูง 4.8 ถึง 5.5 เมตร (16-18 ฟุต) และมีน้ำหนักถึง 900 กิโลกรัม (2,000 ปอนด์) ตัวเมียมีขนาดและความสูงน้อยกว่าเล็กน้อย จัดเป็นสัตว์บกที่มีความสูงที่สุดในโลก
    ยีราฟ มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย ไม่ผลัดเขา ที่เขามีขนปกคลุมอยู่ มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงราว 15-20 ตัว หรือมากกว่านั้น ในทุ่งโล่งร่วมกับสัตว์กินพืชชนิดอื่น ๆ เช่น แอนทีโลปม้าลาย หรือนกกระจอกเทศ เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 3 ปีครึ่ง ตั้งท้องนาน 420-461 วัน ลูกยีราฟหย่านมเมื่ออายุได้ 10 เดือน เมื่อคลอดออกมาแล้วจะสามารถยืนและเดินได้ภายในเวลาไม่นานเหมือนสัตว์กีบคู่ทั่วไป และวิ่งได้ภายในเวลา 2-3 วัน ตัวเมียมีเต้านมทั้งหมด 4 เต้า ยีราฟจะเป็นสัดทุก ๆ 14 วัน แต่ละครั้งเป็นอยู่ราว 24 ชั่วโมง มีอายุขัยเฉลี่ย 20-30 ปี

    ด้วยความที่เป็นสัตว์ตัวสูง ยีราฟจำเป็นต้องมีหัวใจขนาดใหญ่เพื่อหมุนสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมอง ยีราฟสามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมองได้มากกว่ามนุษย์ถึง 3 เท่า เพื่อไปเลี้ยงสมองที่อยู่สูงขึ้นไปประมาณ 8 ฟุต เสมือนกับปั๊มน้ำที่สูบน้ำขึ้นไปยังตึกสูง หัวใจของยีราฟหนักประมาณ 10 กิโลกรัม ระบบไหลเวียนโลหิตจึงเป็นแบบพิเศษ เรียกว่า "Rete mirabile" ช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงสมองมากเกินไปเวลายีราฟก้มตัวดื่มน้ำ ระบบไหลเวียนเลือดพิเศษนี้จึงเปรียบเสมือนวาล์วปิดเปิดน้ำ 
    ยีราฟ เป็นสัตว์ที่กินพืช กินได้ทั้งหญ้าที่ขึ้นอยู่กับพื้น และพุ่มไม้สูง ๆ โดยเฉพาะพุ่มไม้ประเภทอาเคเชียหรือกระถินณรงค์ที่มีหนามแหลม มีรสฝาด และมีพิษ แต่ยีราฟก็สามารถกินได้อย่างไม่มีปัญหา เพราะมีลิ้นที่ยาวถึง 45-47 เซนติเมตร และมีความหนาสาก ใช้ตวัดกินได้โดยไม่ได้รับอันตราย และทนทานต่อสารพิษได้ในระดับหนึ่ง แต่เมื่อยีราฟจะดื่มน้ำหรือกินอาหารที่อยู่พื้นล่าง ต้องถ่างขาทั้งคู่หน้าออก และก้มคอลง เพราะมีกระดูกที่ข้อต่อต้นคอเพียง 7 ข้อเท่านั้น นับเป็นช่วงที่ยีราฟจะได้รับอันตรายจากสัตว์กินเนื้อที่บุกจู่โจมได้ เพราะเป็นช่วงที่อยู่ในท่าที่ไม่คล่องตัว วัน ๆ หนึ่งยีราฟจะกินอาหารเฉลี่ยวันละ 20-30 กิโลกรัม ขณะที่นอนหลับในท่ายืนเพียงวันละ 2 นาที-2 ชั่วโมงเท่านั้น ยีราฟเมื่อวิ่ง จะวิ่งได้ไม่นานนักเนื่องจากหัวใจจะสูบฉีดเลือดอย่างหนัก และเมื่อวิ่งจะต่างจากสัตว์ชนิดอื่น ๆ เพราะทั้งขาหลังและขาหน้า ที่อยู่ข้างเดียวกัน จะยกขึ้นลงพร้อม ๆ กัน จึงมีลักษณะการวิ่งแบบควบกระโดดโคลงเคลงไปมา และคอที่ยาวก็จะมีอาการแกว่งไกวไปมาด้วย
    แม้จะเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ แต่ยีราฟก็ยังถูกคุกคามจากสัตว์กินเนื้อได้ เช่น สิงโต หรือไฮยีนา ยีราฟมีวิธีการป้องกันตัวคือ การเตะ จากขาหลังที่ทรงพลัง ซึ่งทำให้สิงโตได้รับบาดเจ็บได้ สิงโตจึงไม่ค่อยโจมตียีราฟตัวที่โตเต็มที่ แต่จะเล็งไปยังลูกยีราฟมากกว่า
    คอของยีราฟประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่แข็งแกร่งยึดติดกับบริเวณหัวไหล่ คอของยีราฟจึงไม่ห้อยตกลงมา ซึ่งคอของยีราฟนอกจากจะใช้เพื่อการดำรงชีวิตทั่วไป ยังมีส่วนสำคัญในพฤติกรรมทางสังคมเช่นกัน ยีราฟตัวผู้จะเข้าต่อสู้โดยใช้คอของถูหรือฟาดกับยีราฟตัวอื่น เพื่อจะแสดงความเป็นจ่าฝูง และใช้เกี้ยวพาราสีหาคู่เพื่อสืบพันธุ์ด้วย
             

     จิงโจ้ (อังกฤษKangaroo) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องในตัวเมียสำหรับแพร่ขยายพันธุ์และเป็นที่อยู่อาศัยของลูกอ่อน นับเป็นสัตว์ในประเภทนี้ที่มีขนาดใหญ่ และเป็นสัตว์ประจำท้องถิ่นของออสเตรเลีย
    จิงโจ้นั้นจัดออกได้เป็นหลากหลายประเภท ในหลายวงศ์, หลายสกุล แต่ทั้งหมดจัดอยู่ในอันดับ Macropodiformes หรือที่เรียกในชื่อสามัญว่า "แมคโครพอด" (Macropod) ที่หมายถึง "ตีนใหญ่" แต่ทั้งหมดก็มีรูปร่างคล้ายกัน (แต่โดยปกติแล้ว จิงโจ้จะหมายถึงแมคโครพอดที่อยู่ในสกุล Macropus) คือ มีขาหลังที่ยาวแข็งแกร่ง ทรงพลัง ใช้ในการกระโดด และมีส่วนหางที่แข็งแรง ใช้ในการทรงตัว และใช้ในการกระโดด










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น